-:: ยินดีต้อนรับเข้าสู่แผนกวิชาสถาปัตยกรรม ::-



le corbusier

ประวัติ

เลอคอบูซิเยร์ ( 1887-1965 ) architect,city planer,painter เป็นสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เดิมชื่อ charles-edovard jeanneret

 เกิดเมื่อ oct 6,1887 ที่ lchauxdefondsซึ่งเป็นเมืองเล็กๆในแถบสวิสซึ่งที่นั้นเป็นศูนย์กลางของการทำนาฟิกาพ่อเป็นคนสลักและลงยาหน้าปัทม์นาฬิกาส่วนแม่เป็นครูเปียโนพออายุได้ 13 ปี ก็สามารถเรียกตัวว่าเป็นสถาปนิกเขาออกจากกิจการของครอบครัวออกเที่ยวไปในยุโรปและมเดิเตอร์เรเนียน ไปอยู่ปารีสและได้ทำงานกับ perret
ไปอยู่เยอรมันไปเป็นผู้ช่วย behrenกลับมาเป็นครูที่โรงเรียน la chaux de fondsได้งานสร้างบ้านหลายหลังซึ่งมีอิทพลของ perret และ writght  ไปทำงานเป็น painter ที่ปารีสรุ่งเรืองในงานสถาปัตยกรรมพอๆ กับงานด้านผังเมือง ได้สร้างเมืองใหม่chandigarhซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย   ครั้งนี้ได้ใช้ความรู้ทางด้าน 
city planning อย่างเต็มที่

  1. โอนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส

  1. เสียชีวิตขณะว่ายน้ำในวันที่ 27 เดือนสิงหาคม

   จากปี 1930 เป็นต้นไป  สถาปนิกผู้ทรงอิทธพลที่สุดใน modernmovement ก็คือคอร์บูซึ่งในวงการสถาปนิกแล้ว เขาเปรียบเสมือ พระนักพยากรณหรือพระเจ้าเลยทีเดียว
   ในชีวิตของเขาได้เข้าร่วมงานกับ gropius, mies, และคนอื่นๆ ทำงานร่วมกันใน international exposition และ deutscher werkbund สำหรับงานนี้คอร์บูได้สร้างบ้านเป็นการทดลอง 2 หลัง

   เมื่อครั้งเดินทางไปเที่ยวยุโรปนั้นเขาได้ไปกรีก ท่ามกลางท้องฟ้าที่สดใส การวางอาคารของอโครโปลิส การ approach การเข้าถึงตัวอาคาร ความเกี่ยวเนื่องกับแสงแดด ความประทับใจกับแสงแดด ตัวอาคารแบบพื้นเมืองมีลักษณะเป็นรูปทรงประติมากรรม ( sculptural form และ prism form ) สิ่งเหล่านี้มีอิทธพลต่องานของเขาทั้งหมด เขากล่าวว่า “ ตามนุษย์ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เห็นความงามจากแสงแดด “ จึงเกิดการเล่น mass กับ  เงา ทำให้เกิด pattern ของผนังกันแดดเฉพาะตัวขึ้น

ภาพผลงานการออกแบบ

ลักษณะงานของคอร์บู ในช่วงแรกมี prism form ที่เด่นชัดมีความเกลี้ยง ขาวสะอาด เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นแบบกรีก นอกจากนั้นยังสรุปลักษณะเด่นได้ 4 ประการคือ

  1. ยกพื้นสูงลอยตัว มีลักษณะเบา แบบนี้เป็นเรื่องใหม่ของตะวันตกที่เคยชินกับ
  2.   mass ที่ทึบตันและติดดิน
  3. จัดแผนผังพื้นที่ใช้สอย เป็นอิสระจากโครงสร้าง ( free plan )
  4. ใช้ ribbon window
  5. ใช้ roof garden

ในปี 1913 ไปอยู่ปารีส ซึ่งในขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของศิลปะคิวบิสม์ และเซอร์เรียวลิสม์ 

ตัวเขาไปสร้างศิลปะแบบ purism โดยยึดถือความคิดเกี่ยวกับรูปทรงอย่างเดียว พร้อมกับคำพูดของเขาที่ว่า “ a house is a living in “ หมายความว่า บ้านพักอาศัยควรสนองประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง คอร์บูมองเห็นว่า บ้านนั้นเป็นผลิตผลของผู้บริโภคเหมือนกับรถยนต์ ซึ่งผลิตชิ้นส่วนออกมาจากโรงงานและด้วยการผลิตทางอุตสาหกรรมนี้ บ้านก็ควรมีชิ้นส่วนที่ผลิตออกมาจากโรงงาน

 ( แล้วเลื่อนออกมาตามสายพานเหมือนชิ้นส่วนของรถยนต์ ) และด้วยหลักการนี้ก็เข้าครอบงำสถาปนิกตั้งแต่นั้นมา ความจริงแล้วคอร์บู ได้แรงบันดาลใจจากภาพจำลองของเครื่องจักรและอาศัยสิ่งเหล่านี้ไปสร้างสรรค์สไตล์ใหม่ๆ ซึ่งไม่มีการเกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม บ้านของเขาก็ดูคล้ายๆเครื่องจักร แต่ละส่วนแสดงออกอย่างชัดแจ้งเหมือนชิ้นส่วนของเครื่องจักร ปล่องระบายอากาศบนหลังคาก็ดูคล้ายปล่องเรือกลไฟ บ้านที่รู้จักกันดีก็คือ

the villa savoye นอกกรุงปารีส ซึ่งถูกเปรียบเทียบกับเฮลิคอปเตอร์ที่ตั้งอยู่บน landscape ที่เกี่ยวเนื่องกับคติทางคลาสสิคและยุคเครื่องจักรกล คอร์บูเป็นผู้สนับสนุนความคิดแบบฟิวเจอร์ริสท์ โดยการแสดงออกให้เห็นสังคมใหม่แทนที่จะให้สถาปัตยกรรมเป็นผู้กำหนดโลกใหม่ เขากลับมีความต้องการที่จะออกแบบสังคมใหม่ด้วย imagine ของเขาเอง

คอร์บูได้ก้าวล้ำหน้าเพื่อนๆชาว modernist โดยเปลี่ยนสไตล์ของเขา หลังสงครามเขาก็ทิ้งความตั้งใจที่ชอบผลิตผลของเครื่องจักรที่มีผิวพื้นที่เรียบลื่นและหันไปชอบสไตล์ใหม่ ซึ่งเขาเรียกว่า brutism คือความหยาบของผิววัสดุ เมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นว่าคอร์บูมักทำโครงสร้างแบบ “ คอนกรีตเปลือย “ และเขาเห็นว่าอาคารนั้นไม่เหมาะกับคนแต่ควรทำให้คนเหมาะกับอาคารจึงกำหนดสัดส่วนของอาคารให้เหมาะสมแทน

ด้วยแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ในยุค modern movement เขาได้ออกแบบโบสถ์ chaple at ronchamp

งานนี้ถือเป็นงานชิ้นที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่งของคอร์บู มีลักษณะเล่น effect ของ plastic quality ของดินเหนียว ใช้ form ที่แรงแทนสัญญลักษณ์ทางศาสนา งานนี้มีลักษณะ powerfule รักษาความเป็นตัวของลักษณ์ตัวเองได้อย่างมีเอกลักษณ์

คอร์บูเป็น renaissance man or one man show เป็นคนที่มีความคิดลึกซึ้งเชี่ยวชาญในเกือบทุกเรื่องทุกแขนงของงานสร้างสรรค์ เป็นประติมากร โดยทุกเช้าจะเล่นน้ำทะเลให้คลื่นสัดสาดตัวแล้วจะขึ้นมาทำงานประติมากรรมเสร็จแล้วก็จะเรี่มงานสถาปัตยกรรม เป็นนักผังเมืองมีความคิดก้างไกลจากยุคที่ตนมีชีวิตอยู่ ว่าควรจัดระบบ จัดโซนของการใช้เมืองอย่างไรจึงจะได้ผล เขาถือความงามเป็นสิ่งสัจจะ เป็นสิ่งที่ดีและหาได้ยากจะได้มาก็ต้องผ่านการเลือกเฟ้นเท่านั้น


[ย้อนกลับ] [กลับหน้าหลัก]
วิทยาลัยเทคนิคยะลา